ความรู้เกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์
ReadyPlanet.com
dot
bulletหน้าแรก
bulletใบสั่งซื้อสินค้า
dbale.com ดีเบล บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ กระปุก ตลับ ขวด ปั้ม สเปรย์
Catalog แคตตาล็อกสินค้า
bulletอัลบั้มรูป
dot
ค้นหาสินค้า

หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
bulletรับสมัครงาน
dot
สมัครสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
สมาชิกที่กำลังlogin
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 49 คน
dot
dot
DBale
dot
bulletกลุ่มสินค้าสำหรับสั่งออเดอร์
bulletรับสกรีนบรรจุภัณฑ์
bulletกระปุกครีม
bulletกระปุกสปา
bulletขวดแก้ว
bulletขวดแก้วอโรมา
bulletขวดพลาสติก
bulletขวดสบู่-Champoo
bulletขวดสุญญากาศ
bulletขวดปั้ม
bulletขวดน้ำหอม
bulletขวดลูกกลิ้ง
bulletขวดแกลลอน
bulletขวดน้ำยาทาเล็บ
bulletฝาขวด
bulletหัวปั้ม
bulletหัวสเปรย์
bulletหลอดบีบ-หลอดโฟม
bulletถุงแพ็คเกจและกล่อง
bulletเวชภัณฑ์บรรจุภัณฑ์
bulletไม้พาย
bulletบรรจุภัณฑ์แบบอื่นๆและอุปกรณ์เพื่อสุขภาพ
bulletน้ำหอมและส่วนผสม
dot
สินค้าแนะนำ
dot
bulletตลับครีม
bulletตลับพร
bulletกระปุกครีม5กรัม
bulletกระปุกครีม10กรัม
bulletกระปุกครีม15กรัม
bulletกระปุกครีม20กรัม
bulletกระปุกครีม25กรัม
bulletกระปุกครีม30กรัม
bulletกระปุกครีม40กรัม
bulletกระปุกครีม50กรัม
bulletกระปุกครีม100กรัม
bulletกระปุกครีม150กรัม
bulletกระปุกครีม200กรัม
bulletกระปุกครีม250กรัม
bulletกระปุกครีม300กรัม
bulletกระปุกครีม400กรัม
bulletกระปุกครีม500กรัม
bulletขวดเซรั่ม
bulletขวดปั้มครีม
bulletขวดสีชา
bulletขวดน้ำมันหอมระเหย
bulletฝาสเปรย์
dot
ขวดพลาสติกจำแนกตามชื่อรุ่น
dot
bulletรุ่น SA-กลมกระบอกไหล่ตัด
bulletรุ่น PET-043 (FH14)
dot
ถูกค้นหาบ่อยที่สุด
dot
bulletพลาสติกแบบต่างๆ
bulletกระปุกใส่ครีม
bulletกระปุกครีมสวยๆ
bulletตลับใส่ครีม
bulletหัวสเปรย์
bulletปั้มขวด
bulletหัวปั้มปากยื่น-ปั้มดีด
bulletปั้มฝาครอบ
bulletขายขวด
bulletขายกระปุกครีม
bulletขายตลับครีม
bulletขายส่งขวดสุญญากาศ
bulletปั้มสุญญากาศอะคริลิค
bulletขวดพลาสติกpet
bulletถุงพลาสติกหูหิ้วไซส์เล็ก
bulletชุดเครื่องสำอางค์
bulletบรรจุภัณฑ์
dot
อื่นๆเกี่ยวกับดีเบล
dot
bulletใบจดทะเบียนการค้า
bulletแผนที่ร้าน DBale
bulletรายชื่อบริษัทขนส่งเอกชน
bulletอัตราค่าขนส่งทางไปรษณีย์
bulletเบอร์โทรที่ทำการไปรษณีย์ทั่วกทม.
bulletคิวรถตู้เอกชนร่วมบริการ
bulletค้นหาสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์
bulletคิดรถตู้กรุงเทพ-ต่างจังหวัด
bulletค้นหาที่ทำการไปรษณีย์-เบอร์โทรไปรษณีย์ทุกสาขา
dot
เพื่อนบ้านดีเบล
dot
bulletแลกลิงค์กับเรา


Yahoo bot last visit powered by Scriptme
Google bot last visit powered by Scriptme
Msn bot last visit powered by Scriptme
Powered by  MyPagerank.Net

Ainuo เครื่องสำอางนำเข้า คุณภาพระดับโลก

 

เสื้อยืดคอกลม คอวี สีพื้น ขายส่งเสื้อยืด รับทำเสื้อ รับสกรีนเสื้อ รับปักเสื้อ เสื้อท่องเที่ยว เสื้อที่ระลึก
เครื่องสำอางนำเข้า จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ขายส่งเครื่องสำอาง


ความรู้เกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์

ความรู้เกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์

กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

1. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466
        พรบ. ฉบับนี้ร่างขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งจะได้ผลดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของ ผู้ประกอบการ ในการดูแลเอาใจใส่ในการ บรรจุสินค้าของตนเองให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยครอบคลุมสินค้าที่ผลิตแล้ว จัดจำหน่ายในประเทศ และยังรวมถึงสินค้าหีบห่อ ที่นำเข้าหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ดังนั้น อุปกรณ์หรือเครื่องจักรใด ๆ ที่ใช้ในการชั่งตวงวัด จะต้องได้รับใบรับรองส่วนหน่วยที่แสดงปริมาณของสินค้าตามมาตรชั่งตวงวัด ควรใช้ระบบเมตริก และตัวเลขที่ใช้ สามารถ ใช้ตัวเลขอารบิคหรือตัวเลขไทยได้ ขนาดของตัวเลขและตัวอักษร ที่ใช้ต้องไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร
         นอกจากนี้ ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับล่าสุด ฉบับที่ 13 ปี พ.ศ. 2539 ได้กำหนดให้สินค้าบางประเภท บรรจุสินค้า ตามปริมาณที่กำหนด ผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดให้บรรจุตามปริมาณที่กำหนด ระบุอยู่ในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ประกอบด้วย อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม และน้ำส้มสายชู โดยมีรายละเอียดดังนี้

น้ำปลา ขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร (มล.) มีขนาด 100, 200, 300, 530, 700, 750 ส่วนขนาดบรรจุต่ำกว่า 100 มล. และสูงกว่า 750 มล. ไม่กำหนดขนาดบรรจุ
น้ำซีอิ๊ว ขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร (มล.) มีขนาด 100, 200, 300, 500, 530, 620 ขนาดต่ำกว่า 100 มล. และขนาดสูงกว่า 620 มล. ไม่กำหนดขนาดบรรจุ
น้ำซอส ขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร (มล.) มีขนาด 100, 150, 200, 300, 600, 700 ขนาดต่ำกว่า 100 มล. และขนาดสูงกว่า 700 มล. ไม่กำหนดขนาดบรรจุ
น้ำส้มสายชู ขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร (มล.) มีขนาด 100, 200, 300, 530, 700, 750 ขนาดต่ำกว่า 100 มล. และขนาดสูงกว่า 750 มล. ไม่กำหนดขนาดบรรจุ

2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
สาระสำคัญในพระราชบัญญัติฉบับนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร และการขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร
1. การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าซึ่งอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องนำอาหารนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อน เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนแล้ว จึงผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งปรับทั้งจำ ประเภทอาหารที่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.1 อาหารควบคุมเฉพาะ มี 39 ประเภท
1.2 อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานมี 9 ประเภท
1.3 อาหารที่กำหนดให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก มี 2 กลุ่มคือ
      - กลุ่มอาหารที่ต้องส่งมอบฉลากให้คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พิจารณาก่อนนำใช้
      - กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องส่งมอบให้คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พิจารณา
2. การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร อาหารควบคุมเฉพาะที่กำหนดคุณภาพ และที่กำหนดให้มีฉลากต้อง ขึ้นทะเบียนอาหารและ ขออนุญาตใช้ฉลาก เมื่อได้รับ อนุญาตแล้วจึงทำการผลิต อาหารที่ต้องขออนุญาตใช้ ฉลากอาหารมี 4 กลุ่มคือ
2.1 อาหารควบคุมเฉพาะที่ผลิตจากสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน คือ มีเครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือ คนงาน 7 คนขึ้นไป ฉลากอาหารที่ใช้ของกลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร "ผ" โดยที่ "นป" หมายถึง น้ำปลา " ช" หมายถึง น้ำส้มสายชูซึ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะใน 39 ประเภท ในกรณีที่ผลิตจาก ผู้ผลิตในประเทศที่ไม่เข้าข่าย โรงงาน อุตสาหกรรมจะใช้อักษรย่อ "ฉผ" หมายถึง ฉลากผลิต ดังนั้นบนทะเบียนฉลากอาหารจะกลายเป็น "ฉผนป" และ "ฉผช" ตามลำดับ ส่วนหมายเลขที่ตาม คือ หมายเลขที่และปีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฉลากอาหารนั้น ๆ ส่วนอาหารที่นำเข้า จะใช้อักษร "ส" แทน "ผ" และ "ฉผ" ในปี พ.ศ. 2536 กระทรวงสาธารณสุขอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ของแต่ละที่ได้ ดังนั้นจึงเกิดอักษร ตัวย่อของจังหวัด นำหน้าอักษรรหัส เช่น การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหารที่นครปฐม จะมีตัวอักษรย่อ นฐ. ระบุไว้ในเครื่องหมาย อย. ด้วย
2.2 อาหารที่ถูกกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
2.3 อาหารที่ถูกนำเข้าประเทศเพื่อจำหน่ายซึ่งไม่ใช่อาหารควบคุมเฉพาะ
2.4 อาหารอื่นที่มีการจำหน่ายและ รัฐมนตรีออกประกาศกำหนดให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลากคือ อาหารประเภทที่ 1 ที่ 2 และบางส่วนของประเภทที่ 4 ตามที่ประกาศกำหนดให้มี ฉลากที่ได้รับอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา ซึ่งต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้
          2.4.1 เครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตใช้ฉลากอาหาร พร้อมปีที่ให้อนุญาต ซึ่งอาจเขียนเต็ม เช่น 2541 หรือเขียนย่อ เช่น 41 ก็ได้ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากอาหาร แล้วให้แสดงเลขที่อนุญาต ในฉลากอาหาร ด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตรในกรอบพื้นสีขาว โดยสีของกรอบให้ตัดกับพื้นฉลาก
          2.4.2   น้ำหนักสุทธิ หรือปริมาณสุทธิ ซึ่งหมายถึง น้ำหนักหรือปริมาตรของอาหารที่ไม่รวมภาชนะบรรจุ ส่วนน้ำหนักอีกประเภทที่ให้แสดง คือ น้ำหนักเนื้ออาหาร ( Drained Weight) ซึ่งเป็นน้ำหนักของอาหารที่เป็นเนื้อหรือของแข็งโดยได้กรองส่วนที่เป็นของ เหลวแยกออกแล้ว
          2.4.3 ชื่อภาษาไทย กำหนดให้ใช้อักษรสีเดียวกัน ซึ่งอาจมีชื่อได้ 2 ส่วนคือ ชื่อตามกฎหมายที่กำหนดให้เรียกผลิตภัณฑ์นั้น เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ ชื่อทางการค้า ( Brand Name)
          2.4.4 ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ การระบุส่วนประกอบนี้ต้องระบุปริมาณ เป็นร้อยละของน้ำหนัก และเรียงจากปริมาณมากไปหาน้อย
          2.4.5 การระบุส่วนประกอบหรือวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ส่วนประกอบของอาหาร บางประเภท ที่ใช้เติมลงในอาหาร อาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดอาการแพ้ แก่ผู้บริโภคบางกลุ่ม ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งชนิด หรือ ปริมาณของส่วนประกอบหรือวัตถุปรุงแต่ง รสอาหารต่าง ๆ เช่น การใช้ผงชูรส การใช้วัตถุกันเสีย การเจือสี การแต่งรสหรือกลิ่น เป็นต้น
        2.4.6 ระบุวันที่ผลิตหรือวันที่หมดอายุ โดยปกติอาหารที่มีอายุการเก็บยาวนาน เช่น อาหารกระป๋อง มักจะระบุวันที่ผลิต ในทางตรงกันข้าม อาหารที่มีอายุการเก็บสั้น เช่น อาหารนม เป็นต้น จะระบุวันที่หมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อน
        2.4.7 ชื่อผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้นำเข้าพร้อมที่อยู่
        2.4.8 คำแนะนำในการเก็บรักษา และในการปรุงอาหาร หรือการเตรียมเพื่อบริโภค เช่น อาหารบางจำพวกอาจจะต้อง เก็บในสภาพเย็น หรือ อาหารที่ใช้อุ่นในไมโครเวฟ จำต้องบอกวิธีการปรุง คำแนะนำสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นมาก ในการที่ผู้บริโภค จะสามารถบริโภคอาหาร ที่มีคุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการตามที่ได้คาดหวังไว้
        2.4.9 ข้อควรระวังหรือคำเตือน และวิธีป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) คำเตือนเหล่านี้พบได้ จากอาหารจำพวกชูกำลัง หรืออาหารที่ทานแล้วทำให้อยากทานอีก เช่น เครื่องดื่ม ผสมคาเฟอีน เป็นต้น
        2.4.10 สัญลักษณ์รหัสแท่ง (Bar Code)

3. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
          พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ถือได้ว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย ที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน ของรัฐขึ้น เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง เนื่องจากกฎหมายอื่น ๆ ที่บัญญัติขึ้นควบคุมผู้ประกอบธุรกิจนั้น เป็นการคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภคทางอ้อม ผู้บริโภคจึงไม่อาจใช้สิทธิในการฟ้องร้องผู้ประกอบธุรกิจ ต่อศาลอาญาได้ ส่วนการดำเนินการ ทางแพ่ง ก็เป็นภาระ และเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีด้วยตนเองได้
           วิธีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้องค์กรของรัฐมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลและประสานงาน การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่ให้ผู้บริโภค ได้ใช้สิทธิร้องเรียนเพื่อขอให้ได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหาย เมื่อถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
1. สิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 4 ข้อ ดังนี้
      1.1 สิทธิที่ได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า และบริการ
      1.2 สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้า และบริการ โดยปราศจากการผูกขาด
      1.3 สิทธิที่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
      1.4 สิทธิที่จะได้ชดเชยความเสียหายจากการใช้สินค้า หรือบริการ

2. องค์กรของรัฐตาม พ.ร.บ. องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคทั้ง 4 ข้อข้างต้นนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีการแบ่งการคุ้มครองผู้บริโภคเป็น 2 ด้าน คือ ด้านโฆษณา ( มีคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา) และด้านฉลาก (มีคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก) ต่างก็มีคณะอนุกรรมการย่อยลงไปอีก เพื่อสอดส่องดูแลรับเรื่องร้องทุกข์ พิจารณาความผิดที่เกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ

3. การคุ้มครองผู้บริโภคด้วยฉลากสินค้า ความหมายของฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีดังนี้ คือ คำว่า ฉลาก ตามมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กำหนดให้ หมายความถึง รูป รอยประดิษฐ์ กระดาษ หรือสิ่งอื่นใด ที่ทำให้ปรากฎข้อความเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งแสดงไว้ที่สินค้า หรือภาชนะบรรจุหีบห่อ บรรจุสินค้า สอดแทรกหรือรวมไว้ กับสินค้าหรือภาชนะบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบสินค้า พร้อมทั้งป้าย ที่ติดตั้ง หรือแสดง ไว้ที่สินค้า หรือภาชนะบรรจุหีบห่อที่บรรจุสินค้านั้น ส่วนสินค้าควบคุมฉลากจากต่างประเทศ ที่นำเข้ามาขายในประเทศไทย ต้องทำฉลากเป็นข้อความภาษาไทย มีความหมายตรงกับ ข้อความในภาษาต่างประเทศ โดยระบุชื่อพร้อมสถานที่ ประกอบการของผู้ได้รับใบอนุญาตให้นำเข้าสินค้านั้น และต้องมีรายละเอียด เกี่ยวกับสินค้าตามประกาศที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากได้ กำหนดไว้ในแต่ละประเภทของสินค้า สินค้าที่กำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมฉลาก มีดังนี้
        1. สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพร่างกาย หรือจิตใจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือสภาพของสินค้านั้น เช่น ภาชนะพลาสติก - เต้ารับ - เต้าเสียบ เครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ เครื่องตัดวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
        2. สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจำ ซึ่งการกำหนดฉลากของสินค้านั้น จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค เพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริง ในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น เช่น สีผสมอาหาร สมุด ปากกาลูกลื่น ภาชนะ กระดาษที่ใช้กับอาหาร กระดาษเช็ดหน้า กระดาษชำระ เป็นต้น

4. พระราชบัญญัติมาตรฐานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
         
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือรู้จักกันในนามของ "สมอ." เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 จึงนับได้ว่า สมอ. เป็นสถาบันมาตรฐาน แห่งชาติ โดยมีหน้าที่หลัก คือ การกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) การรับรองระบบคุณภาพ รับรองความสามารถ ของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็นสื่อกลางกับองค์กร ที่เกี่ยวข้องทั้งโลก เช่น องค์การค้า ระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ( International Organization For Standardization) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายว่า ISO องค์การโลก ( World Trade Organization หรือ WTO) และองค์กรอื่นๆ การจัดหมวดหมู่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีอยู่อย่างมากมายนั้น ทาง สมอ. มีระบบการจัดหมวดหมู่เป็นไปตามที่ ISO ได้พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า International Clasification For Standard หรือเรียกย่อว่า ICS และประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535
            1. ความหมายของมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานอุตสาหกรรม คือข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบ ธุรกิจในการผลิต สินค้าให้มีคุณภาพในระดับ ที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด เครื่องหมายมาตรฐานเหล่านี้จะเป็นหลักฐานของทางราชการ และเป็นเครื่องพิสูจน์บ่งชี้ว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทำขึ้นได้ตามมาตรฐาน เครื่องหมายมาตรฐานจะช่วยเพิ่มความเชื่อถือ ในสินค้า และธุรกิจ ข้อสำคัญที่สุดก็คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นั้นจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถ รักษาคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ให้สม่ำเสมอได้ตลอด สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดำเนินการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน อันเป็น การเพิ่มความเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าไทยทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ และเพื่อประหยัดทรัพยากร พร้อมทั้งลดต้นทุน การผลิต
            2. วัตถุประสงค์ของการมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สามารถจำแนกได้ดังนี้
                   1. เพื่อสร้างความเชื่อถือผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศด้วยการปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น
                   2. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย ขจัดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ
                   3. เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
                   4. เพื่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่ายในการใช้งานและการผลิต
                   5. เพื่อเป็นสื่อเชื่อมโยงในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและประสานกันได้พอดี
            เมื่อผู้ประกอบธุรกิจรายใดที่ต้องการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จะต้องยื่นคำ ขอรับใบอนุญาต เมื่อสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตรวจสอบโรงงานและผลิตภัณฑ์แล้วว่า สามารถทำได้ตามมาตรฐาน อย่างสม่ำเสมอ จะอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานได้
            1. เครื่องหมายมาตรฐาน เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
            2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ผลิตภัณฑ์ใดที่กำหนดไว้ว่าเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายจะต้องผลิต นำเข้า และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น โดยมีเครื่องหมายมาตรฐาน บังคับแสดง เช่น ผงซักฟอก ถังก๊าซปิโตรเลียม บัลลาสต์ สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ เหล็กเส้น เสริมคอนกรีต เป็นต้น

องค์กรที่รับผิดชอบพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์    พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์รับผิดชอบโดยองค์กรต่อไปนี้
1. สำนักงานกลางชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
2. คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
3. คณะกรรมการผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
4. สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
           นอกเหนือจากองค์กรที่รับผิดชอบต่อพระราชบัญญัติทั้ง 4 ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีองค์กรทั้งส่วนของราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้
           1. ส่วนอุตสาหกรรมการเกษตร สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์และวิจัยข้อมูลทางเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร เน้นการแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากพืช เพื่อกำหนดและพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตามภาวะการตลาดประสานงานจัดหาผู้ชำนาญการ เฉพาะด้านเพื่อฝึกอบรมสัมมนา และให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหา และปรับปรุงเทคนิคการผลิตตลอดจนการให้บริการ ข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แก่สถานประกอบการ ผลิตบุคลากรในระดับต่าง ๆ ในสถานประกอบการ
           2. ส่วนบรรจุภัณฑ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน้าที่ให้บริการแนะนำ ส่งเสริมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการกลุ่มบุคคลและบุคคลทั่วไปที่ให้ ความสนใจอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี การออกแบบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการฝึกอบรม สัมมนา นิทรรศการ และการจัดประกวด
          3. ศูนย์บริการการออกแบบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันทางด้านการค้าขายอย่างต่อเนื่อง ทุกประเทศจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ ทางด้านการค้า ให้ทันต่อเหตุการณ์และสภาพการแข่งขัน ประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาตัวสินค้า เนื่องจากคุณภาพ และค่าแรงต่ำไม่ใช่สิ่งจูงใจ และข้อได้เปรียบอีกต่อไปในกระแสโลกานุวัตร ดังนั้นจึงสมควรนำการออกแบบ มาเป็นเครื่องมือ ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าสำหรับการส่งออก รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญข้อนี้จึงได้จัดตั้งศูนย์กลางบริการการออกแบบ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เพื่อมุ่งพัฒนาการออกแบบสินค้า ส่งออกสำคัญ 4 ชนิด คือ เครื่องหนัง อัญมณี ผลิตภัณฑ์พลาสติก และของเด็กเล่น
          4. ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นโยบายหลักของศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย มีดังนี้ สนับสนุนนโยบายการบรรจุภัณฑ์ของประเทศ เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร เพื่อสนองความต้องการของผู้ประกอบการ รวบรวม แลกเปลี่ยน และบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ ประสานงานระหว่างผู้ผลิต และผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ
          5. สถาบันค้นคว้าและวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (Institute of Food Research and Product Development หรือ IFRPD) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2511 โดยแบ่งการบริหารงาน 7 ฝ่าย และ 1 ศูนย์ ได้แก่ ฝ่ายบริหาร และธุรการทั่วไป ฝ่ายค้นคว้าและวิจัย ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายผลิตทดลอง ฝ่ายผลิตภัณฑ์อาหาร ฝ่ายศึกษาสาธิต ฝ่ายวิศวกรรม ศูนย์บริการประกัน คุณภาพทาง ด้านอาหาร โดยมีขอบเขตการทำงาน คือ วิจัยและพัฒนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหารเพื่อปรับปรุงเศรษฐกิจของโรงงาน อาหารและการเกษตรในประเทศไทย บริการวิชาการเกี่ยวกับคุณภาพวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อการบริโภคทั้งในประเทศและการส่งออก ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีทางอาหาร และบริการความรู้ทางด้านนี้แก่ผู้สนใจ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐเอกชน ในการวิจัยการศึกษา ค้นคว้า และฝึกอบรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร เป็นแหล่งข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร
            นอกจากองค์กรของรัฐทั้ง 5 แล้ว ตามมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีการเปิดสอนวิชาทางด้านบรรจุภัณฑ์ และเทคโนโลยีทางการอาหาร มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สามารถให้คำปรึกษา ทดสอบพร้อมทั้งให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ อาหารได้

องค์กรเอกชนที่ให้การส่งเสริมการบรรจุภัณฑ์อาหาร
          1. สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย วัตถุประสงค์ของสมาคม มีดังนี้คือ ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการติดต่อประสานงานกับสมาชิก เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้ก้าวหน้า
          2. สถาบันอาหาร สถาบันอาหารได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ในรูปแบบองค์กรอิสระภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม แต่การบริหารงานไม่ผูกพันกับ กฎระเบียบการปฏิบัติของทางราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีหน้าที่สนับสนุนและ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมอาหารใน 3 ด้าน คือการบริการวิชาการการเผยแพร่ บริการข้อมูลข่าวสาร การบริการทดสอบ วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร
          3. สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย ( EAN THAILAN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 โดยสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย เนื่องจากตระหนัก ถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกิจแบบโลกานุวัตร ที่เกิดขึ้น จึงได้พยายามนำระบบ การจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย เรียกว่า ระบบสัญลักษณ์รหัสแท่ง ( Bar Code) มาช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ให้ความสะดวกในการ ใช้งานที่รวดเร็วถูกต้อง และสอดคล้องกับระบบธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อเป็นไปตามนโยบาย การพัฒนา เศรษฐกิจ ของประเทศ
           ขณะนี้ประเทศไทยมีรหัสประจำตัวหมายเลข 885 ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ โดยผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือนักธุรกิจจะสามารถตรวจสอบได้ว่า 885 เป็นสินค้าของประเทศใด หรือถ้าสินค้าตัวนี้ขายดีขึ้นมา ก็จะรู้ว่าสินค้านี้มาจาก ประเทศไทย ( Made in Thailand) และค้นหาบริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้แทนจำหน่ายได้ จึงทำให้สะดวกในการขยาย ช่องทาง การตลาดได้โดยง่าย

เทคโนโลยีการพิมพ์และการติดฉลากแบบใหม่
ปริญญา ขำสาธร

           การขาดการสื่อสารที่ดีต่อกันที่จุดขายทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ผลิตสินค้ากับผู้บริโภคหยุดชะงักลง เช่น ผู้ผลิตขนมปังไม่สามารถแจ้งต่อผู้บริโภคได้ว่าขนมปังจะหมดอายุเมื่อใด ฉลากจึงได้เข้ามามีบทบาท เป็นสื่อกลางที่ให้ ความสัมพันธ์อันดีดำเนินต่อไป ฉลากสามารถบอกวันหมดอายุ ส่วนผสมคุณค่าทางโภชนาการและข้อมูลอื่นๆ ได้ ปัจจุบันประชาคมยุโรปและทั่วโลกได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับฉลากมาใช้กันอย่างมาก มายผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ที่ผลิตสินค้าไม่กี่ชนิด มักจะไม่มีปัญหาในการพิมพ์วันหมดอายุ ชุดตัวเลข บาร์โค้ด เพราะสามารถพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ก่อนหรือหลังการบรรจุได้ แต่ผู้ผลิตรายเล็กที่มีสินค้าหลากหลาย การพิมพ์ดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นและเสี่ยง ต่อการนำ สินค้าบรรจุผิดกล่อง วิธีแก้ปัญหาและลดต้นทุนคือ การพิมพ์บนฉลากกระดาษและนำไปติดบนบรรจุภัณฑ์ ณ จุดสุดท้ายของการผลิต สมัยก่อนระบบการพิมพ์และติดฉลากไม่มีทางเลือกมากนัก ต้องใช้ น้ำหมึกและฟอยล์ที่ไวต่อความร้อนซึ่ง พิมพ์ได้ช้า จนกระทั่งได้มีการประดิษฐ์คิดค้นกรรมวิธีการพิมพ์ แบบเทอร์มัล ( thermal printing) ขึ้นมาใช้ โดยพัฒนาจากอุปกรณ์ทางทหาร ความร้อนจากหัวพิมพ์จะสัมผัสกับกระดาษที่เคลือบด้วยสารไวต่อความร้อนแล้ว เปลี่ยนสีขาวของ กระดาษไปเป็นสีเทาดำ ความกว้างของเส้นจะมีขนาด 1 มิลลิเมตร สามารถพิมพ์ตัวอักษร ตัวเลข และกราฟิก ตลอดจนจุดเมตริกได้ แต่ฉลากแบบนี้เมื่อโดนแสงอัลตราไวโอเลตนานๆ จะจางลง จึงได้นำฟอยล์มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้สามารถพิมพ์ฉลากได้ 2 สี โดยนำฟอยล์ 2 สี มาพิมพ์พร้อมกัน และความลื่นของฟอยล์เองก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของหัวพิมพ์ได้อีกด้วย จากนั้นได้มีการพัฒนาให้เครื่องพิมพ์ฉลากแบบนี้สามารถพิมพ์ได้ ละเอียดมากถึง 12 จุดต่อ มม. จึงพิมพ์บาร์โค้ดเล็กๆ ได้โดยไม่มีปัญหา สิ่งที่สำคัญคือการแก้ปัญหาในการติดฉลาก เนื่องจากเครื่อง ติดฉลากมีความเร็ว 30 เมตร/นาที ส่วนการพิมพ์ฉลากมีความเร็วเพียง 125 มิลลิเมตร/วินาที ซึ่งเป็นสัดส่วน 4 ต่อ 1 จึงต้องสำรองฉลาก ที่พิมพ์ไว้แล้วในม้วนระหว่างหัวพิมพ์กับเครื่องติดฉลาก การพัฒนาเครื่องพิมพ์ และติดฉลากแบบนี้ได้คำนึงถึงความแม่นยำในการติดฉลาก และความสะดวกในการติดตั้ง บุคคลที่ไม่มีความรู้ทางช่างก็สามารถติดตั้งได้ และเครื่องก็ไม่ต้องการ การบำรุงรักษามากมายนัก อีกทั้งสามารถใช้กับการผลิตสินค้าที่ต้องการความสะอาด นอกจากนี้ได้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาควบคุมในการติดฉลากให้แม่นยำมาก ขึ้น และสามารถเปลี่ยนข้อมูลที่หลากหลายของสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว ทันต่อสินค้า  

บรรจุภัณฑ์ในทศวรรษหน้า
ศิริวรรณ แสงนิกรเกียรต
            บรรจุภัณฑ์ในปี ค.ศ. 2005 จะเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบ วัสดุที่ ใช้ และเทคนิคการตกแต่ง พัฒนาการของการผลิตพลาสติกโดยเฉพาะเทอร์โมฟอร์มจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ ชัด โดยนำไปสู่การผลิตภาชนะบรรจุ ที่ลดต้นทุนลงและอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีพลาสติกชนิดใหม่ 1 ชนิด เข้าสู่วงจรบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นพอลิคีโตน ส่วนโฟมจะถูกนำไปประยุกต์ ใช้มากขึ้น อาจมีการพัฒนาใช้กับตัวสกัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุ บรรจุภัณฑ์ ภายในปี ค.ศ. 2005 การใช้เทคโนโลยีร่วมของการพิมพ์และ การตกแต่งในขั้นตอนการผลิตจะมีผลต่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ อย่างแน่นอน

กระดาษ คาด ว่าการผลิตกระดาษของยุโรปจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กับการนำกระดาษเก่ามาเข้ากระบวนการ ผลิตใหม่ ซึ่งการส่งออกกระดาษ ไปยังจีนและอินเดียจะมีการ เติบโต แต่ควรคำนึงถึงปริมาณการจัดเก็บกระดาษเก่า เพื่อเป็นวัตถุดิบต้องให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ ของผู้บริโภคสุดท้าย

พลาสติก การใช้พอลิสไตรีนในบรรจุภัณฑ์ จะลดลง เพราะถูกแทนที่ด้วยวัสดุชนิดอื่น ในขณะที่ PVC
จะถูกใช้เพิ่มขึ้น แต่ที่จะมีการเติบโตสูงสุดเห็นจะได้แก่ พอลิโพรพิลีน และ PET

โลหะ ปัจจัยสำคัญที่มีผล ต่อการเติบโตของโลหะก็คืออัตราการเติบโตของการนำกระป๋องเหล็กและอะลูมิเนียม มาแปรใช้ใหม่ ซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 70 ของการผลิตในยุโรปภายในปี ค.ศ. 2005 ทำให้ตัวเลขการเติบโตของอะลูมิเนียมดูดีขึ้นมากและช่วยในส่วนของโลหะชนิด อื่นที่มีผลการดำเนินการไม่ดีนัก

แก้ว บรรจุ ภัณฑ์แก้วมีการเติบโตอย่างช้าๆ ด้วยพัฒนาการด้านการลดน้ำหนักลง และคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สำหรับการทำนายเป็นไปได้ยากเพราะขาดข้อมูลการผลิต

ฟิล์มอ่อนตัว จาก แนวโน้มของพัฒนาการแสดงให้เห็นว่า บรรจุภัณฑ์ประเภทฟิล์มอ่อนตัวยังคงรูปแบบของการเติบโตต่อไป รวมไปถึงการใช้ liquid crystal polymer ในฟิล์มที่ทำหน้าที่เป็น ตัวสกัดกั้นเพิ่มขึ้น copolyamide แบบใหม่ และการพัฒนา clayloaded nylon ของญี่ปุ่น วัสดุประกอบ polyketone, metallocenebased polyolefin และฟิล์มละลายหรือรับประทานได้จะมีบทบาทสำคัญในบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ ขณะเดียวกับที่มีการปรับปรุงคุณภาพของฟิล์มบางประเภทไปด้วย ตัวอย่างเช่น ฟิล์ม oriented HDPE จาก Mobil Plastic ที่มีความเหนียวสูงเป็นพิเศษ วัสดุแทนฟอยล์ในการประกบและ PVDC จะมีบทบาทมากขึ้นในการใช้งานร่วมกับฟิล์มอะลูมิเนียม ซิลิคอนไดออกไซด์และอะลูมิเนียมออกไซด์ ส่วนแลกเกอร์จะเป็นประเภท acrylic, EVOH และแลกเกอร์ตัวใหม่จาก ICI ที่ใช้กับ Melinar PET โดยผู้ผลิตรายเดียวกัน

วัสดุประกอบอื่นๆ กาว และหมึกพิมพ์จะได้รับการปรับปรุง โดยมีพัฒนาการของประเภทน้ำเป็นหลัก เทปปิดผนึกที่ใช้กระดาษเป็นหลักจะได้รับความนิยมมากขึ้น รวมไปถึงเทปกระดาษแบบมีกาวติดในตัว ฉลากหดรัดรูปทั้งแบบ inmould และ shrink sleeve label จะมีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้ฉลากห่อพันรอบ ( wraparound film label) สำหรับกระป๋องโลหะ ก็จะมีการพัฒนาคุณภาพการพิมพ์ การป้องกันการพิมพ์ซ้ำ ความยืดหยุ่นในการผลิต ร่วมด้วยการลดพื้นที่ในการจัดเก็บกระป๋องในคลังสินค้า
 

แหล่งข้อมูล
วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2546




เรื่องเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

การวัดปริมาตรและน้ำหนัก
การพิมพ์บรรจุภัณฑ์
ประวัติความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์
แนะนำวัสดุสำหรับทำสติกเกอร์ติดสินค้า
พลาสติก ชนิดต่างๆ PET PE PP PVC
การฉีดน้ำหอมที่ถูกต้อง
วิธีฉีด น้ำหอม อย่างถูกต้อง
น้ำหอมก๊อป VS น้ำหอมแบรนด์ ..... ความจริงในขวดแก้วแห่งเงินตรา (ตอนจบแล้วครับ)
น้ำหอมก๊อป VS น้ำหอมแบรนด์ ..... ความจริงในขวดแก้วแห่งเงินตรา (ต่อ)
น้ำหอมก๊อป VS น้ำหอมแบรนด์ ..... ความจริงในขวดแก้วแห่งเงินตรา
คำถามเกี่ยวกับน้ำหอม และ ส่วนผสม
มะรุม พืชมหัศจรรย์
เหตุใดน้ำหอมถึงมีสีเหลือง ?
วิธีการผสมน้ำหอม จากหลายสำนัก
อย.แนะวิธีทำ เจลล้างมือ ใช้เอง
การใช้สีเพื่อการออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์
ขวดใสใส่ของกระจุกกระจิก
ขวดแก้ว ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์
อันตรายจากขวด PET จริงหรือ ?
หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ขวดพลาสติก
ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์
ประเภทของบรรจุภัณฑ์
วัตถุประสงค์หลักของบรรจุภัณฑ์
หน้าที่บทบาทของบรรจุภัณฑ์
ศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์
ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ กับเครื่องสำอางค์แบรนด์ญี่ปุ่น
รวมรูป บรรจุภัณฑ์จากเครื่องสำอางค์ ยี่ห้อต่างๆ1
รวมรูป บรรจุภัณฑ์จากเครื่องสำอางค์ ยี่ห้อต่างๆ
Daisy น้ำหอมใหม่ จาก Marc Jacobs
Review brand



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
กระปุก ตลับ ครีม jar tin bottle ขวดปั้ม พลาสติก อะคลิลิก อครีิลิก อคลิลิก pump bottle vacuum airless bottle ขวด สุญญากาศ ปั้ม สุญญากาศ ขวดแก้ว ขวดชิเชโด ชวดน้ำมัน ขวดโชว์ ขวดเอสเค sk bottle glass bottle essence bottle ขวดลูกกลิ้ง ขวดแก้วลูกกลิง ขวดลุกกลิ้งอลูมิเนียม Roller bottle spa bottle กระปุกสปา

กระปุกยา เวชภัณฑ์บรรจุ

ขวดพลาสติก ถุงเแพ็คเกจ ฝาขวด ปั้ม สเปรย์ หลอดโฟม

Follow IG @infodbale

e-mail: info@dbale.com

ชื่อเพจ ชื่อเพจ
Dbale ขายส่งกระปุกครีม ตลับครีม ขวดปั้มครีม บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ ตลับครีม
ขวด กระปุก ตลับ ราคาส่ง ขาย ตลับ
ขวดอโรมา ขวดน้ำมันหอมระเหย ขวด พลาสติก pet
 กระปุกครีม   ขวดปั้มครีม
 Dbale ตลับครีมและขวดพลาสติก ขาย กระปุก

tag:บรรจุภัณฑ์,บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์,บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์,บรรจุภัณฑ์สวยๆ,ขายบรรจุภัณฑ์,ซื้อบรรจุภัณฑ์, เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์, Dbale, container, cosmetics, bale, ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์กับแบรนด์ต่างๆ , ขวดน้ำหอม ,ขวด pet ,ขวดแก้ว ,บรรจุภัณฑ์สวยๆ, บรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก, บรรจุภัณฑ์เ้ครื่องสำอาง , ขวดพลาสติก ,กระปุกใส่ครีม, กระปุกอะคลิลิก ,กระปุกครีม, ขวดเจล ,ขวดปั้ม ,ขวดสูญญากาศ, ขวด เงิน ทอง ,แกลลอน, ขวดใส่ของเหลว, หัวปั้ม, หัวฉีด ,สเปรย์ ,ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงาม,ขายขวด,ตลับครีม,ขวด แก้ว,ขาย บรร จุ ภัณฑ์, ขวด pet,จำหน่่าย ขวด แก้ว,ขาย ตลับ

ขายส่ง กระปุกครีม ตลับครีม ขวดพลาสติก ขวดปั้มครีม ขวดใส่ครีม ขวดเครื่องสำอาง ขวดปั้มครีมสุญญากาศ หลอดบีบ หลอดโฟม หลอดยา กระปุกยา กระปุกอาหารเสริม ไม้ตักครีม ไม้พาย

我要啦免费统计